fbpx
9832775428157

5 ข้อง่ายๆให้การถ่ายพลุเจิดจรัส

ช่วงนี้แว่วๆมาว่าจะมีงานเทศกาลการจุดพลุนานาชาติ วันนี้ผมก็เลยขอนำ 5 เทคนิคการถ่ายพลุจากคุณ Mcca Sherifi ที่เป็นทั้ง Blogger และช่างภาพ ที่ถือเป็นรุ่นบุกเบิกของ Lonely Planet และ 1 ในนักเขียนของ Manfrotto School Of Xcellence มาแชร์กันครับ

1. เช็กสภาพอากาศและทิศทางลม

การตรวจสอบสภาพอากาศเป็นสิ่งสำคัญมากๆก่อนจะออกไปถ่ายภาพพลุ ถ้าหากมีแนวโน้มสูงว่าฝนจะตกหนัก หรือหมอกหนาจะปกคลุมเป็นบริเวณกว้างแล้วละก็ คุณเดินไปหยิบรีโมตเปิดทีวีนอนดูซีรีย์ที่บ้านได้เลย

ส่วนเรื่องของลมก็เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้กัน ตำแหน่งที่คุณจะปักหลักควรหลีกเลี่ยงตำแหน่งที่ลมเข้าปะทะหรืออยู่ใต้ลม เพราะเมื่อพลุแตกตัวแล้วคุณจะได้ภาพควัน ไม่ใช่พลุ

ถ่ายพลุ
คุณคงไม่อยากให้ภาพพลุของคุณเหมือนรายงานข่าวเหตุเพลิงไหม้แน่ๆ

2. ใช้ขาตั้งกล้องและเลนส์ไวด์

ด้วยขาตั้งกล้องคุณสามารถใช้เวลารับแสงได้ยาวนานหลายวินาที เพื่อการรับภาพการกระจายตัวของพลุที่เป็นทางสายยาวๆ ซึ่งนั้นคือสิ่งที่สำคัญในการถ่ายภาพพลุ และถ้าคุณมีสายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมตจะเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะมันช่วยหลีกเลี่ยงการสั่นไหวโดยตรงที่ตัวกล้องได้

นอกจากนี้ผมขอแนะนำให้ใช้เลนส์ไวด์เสมอ ภาพพลุที่มีมุมมองภาพที่กว้างและมีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามจะดูดึงดูดสายตาและมีเรื่องราวอยู่ในตัว

ถ่ายพลุ
ถ้ามีสิ่งก่อสร้างหรืออาคารอะไรที่เปรียบเสมือนแลนด์มาร์คอยู่ในภาพด้วยละก็ แจ่มสุดๆเลย

3. การตั้งค่าของกล้อง

มันไม่มีอะไรตายตัว และควรลองหาค่าที่ดีที่สุด แต่ผมจะตั้ง ISO ไว้ที่ 100-400 และค่ารูรับแสงอยู่ที่ราวๆ f/8 – f/11 ซึ่งมักเป็นค่าที่ให้ความคมชัดที่ดีที่สุดของเลนส์

ส่วนชัตเตอร์สปีดผมมักตั้งไว้อยู่ที่ราวๆ 10 วินาที แต่การลั่นด้วยโหมดชัตเตอร์ B ก็เป็นวิธีที่ดีเพราะคุณจะควบคุมเวลาด้วยตัวเอง

ถ่ายพลุ
นอกจากความสว่างของตัวพลุแล้วบรรยากาศโดยรวมก็ต้องเหมาะสมกันด้วย

4. ปิดระบบกันสั่นและออโต้ โฟกัส

หากเลนส์ของคุณมีระบบกันสั่น ขอให้ปิดครับ ผมขอย้ำว่า “ต้องอาศัยขาตั้งกล้อง” ซึ่งเป็นอุปกรณ์การถ่ายที่จำเป็นอย่างมาก หากคุณอยากจะเป็นมืออาชีพหรืออยากให้ภาพของคุณมีคุณภาพที่ดีที่สุด ซึ่งมันมั่นคงมากพอที่คุณจะปิดระบบกันสั่น ยิ่งกว่านั้นมันยิ่งจะส่งผลร้ายมากกว่าหากคุณเปิดระบบกันสั่นขณะอยู่บนขาตั้งกล้อง

นอกจากนี้ปิดระบบออโต้ โฟกัสด้วยนะครับ แล้วตั้งเป็นระยะอินฟินิตี้ มิเช่นนั้นกล้องของคุณจะพยายามจับโฟกัสทุกๆครั้งที่คุณกดชัตเตอร์ และคุณก็ได้แต่ภาพที่เบลอๆแน่นอน

ถ่ายพลุ
นี่คือปลายหางของพลุ ที่กล้องเปิดระบบกันสั่นและตั้งอยู่บนขาตั้งกล้อง

5. มีเงาสะท้อนซะหน่อยก็สวยนะ

ถ้าจุดที่คุณถ่ายภาพพลุมีอะไรก็ตามที่สะท้อนภาพเงาของพลุได้ อย่างเช่นกระจกอาคาร พื้นผิวน้ำไม่ว่าจะทะเล แม่น้ำ ทะเลสาบหรือสระน้ำ เพิ่มมันเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของภาพ และจัดองค์ประกอบให้ดี มันออกมาสวยและเด่นขึ้นแน่นอนเชื่อผมซิ

ถ่ายพลุ

สุดท้ายนี้ก่อนจะจากกัน ผมอยากจะบอกว่าเหนือสิ่งอื่นใดจากที่ผมได้แนะนำแนวทางไป นั้นคือการฝึกฝนและลองผิดลองถูกดู อย่ากลัวในการลองทำอะไรใหม่ๆ โอเค!!! หยิบกล้องและขาตั้ง Manfrotto ไปถ่ายพลุกันเถอะ

ขอขอบคุณคุณ Mcca Sherifi เนื้อหา & ภาพ

ธนัญชัย โลหะชาติกุล รายงานและเรียบเรียง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคาะห์ จะเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้บนเว็บไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงเนื้อหา และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด

    คุกกี้จะทำการปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย จะทำการส่งข้อมูลความสนใจในเนื้อหาที่ผู้ใช้ได้อ่าน หรือมีกิจกรรมร่วมกันกับเนื้อหานั้น เพื่อนำส่งโฆษณาสินค้าที่ผู้ใช้อาจสนใจ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า