เคยสงสัยกันมั้ยครับว่าไฟพาแนลใช้งานยังไง จะต่างกับไฟ COB มั้ย ถ้าคุณอยากรู้ ว่าน่าสนใจแค่ไหน คลิปนี้ เราจะมารีวิว amaran Pano กันครับ กับบทความ ” รีวิวไฟพาแนล amaran Pano 60c และ 120c “
เปิดตัวใหม่แล้วนะครับ กับ amaran Pano เป็นไฟพาแนล หรือที่เข้าใจง่ายๆคือเป็นไฟแผง ออกมาด้วยกัน 2 ตัว นั่นก็คือ amaran Pano 60c และ 120c ซึ่งขนาด 60c จะเล็กกว่า ก่อนอื่น ผมจะมาทำการ Unbox ให้ดูก่อน ว่า amaran Pano 120 มีอะไรอยู่ในกล่องบ้าง

เปิดออกมาก็จะเจอกับกระเป๋า ต้องบอกว่างานดีเลยทีเดียว เปิดกระเป๋าออกมาก็จะเจอตัว Pano 120c ตัวนี้ก็จะเป็นในส่วนของชุดเซ็ต Softbox, Light Control Grid, Diffuser อะแดปเตอร์แปลงไฟนะครับ (AC/DC Adaper) สายไฟ และ Ace-Lock



จะให้ดูรอบตัวนะครับ ว่า Pano 120c และ 60c โดยที่ดูขนาดก่อนนะครับ เห็นได้ว่า Pano 60c จะมีขนาดที่เล็กกว่าชัดเจน จะอยู่ที่ขนาด 10 x 6 นิ้ว และตัว Pano 120c จะมีขนาดอยู่ที่ 14 x 10 นิ้ว ในเรื่องของสีนะครับ มี 2 สี คือสีขาวและสีดำ วัสดุเป็นพลาสติก ในส่วนของตัวพัดลม ก็จะอยู่ด้านหลัง

ด้านหลังก็จะมีตัวควบคุมต่างๆ สวิตช์ เปิด-ปิด ย้อนกลับ ปุ่มพวกนี้ก็จะอยู่ติดหน้าจอไปเลย ด้านข้างของทั้ง 2 ตัวก็จะมีรูระบายอากาศ ด้านบนจะมีสกรู 1/4 มาให้

หลักๆความแตกต่างที่เห็นได้ก็คือ ตัว 60c จะไม่มีพอร์ต AC/DC เพราะฉะนั้นก็จะมีแค่พอร์ต USB-C PD 65W ถ้าเป็นตัว 120c ก็จะมีเหมือนกัน จะเป็น 140W/DC 24V ตรงนี้ถ้าสังเกตุดีๆ จะมีสัญลักษณ์บอก ว่าล็อคหรือไม่ล็อค จะลองมาใส่ดูนะครับ เมื่อเสียบเข้าไปแล้วหมุน ก็จะล็อคได้อย่างแน่นหนา ตัว Pano 120c จะแถมอะแดปเตอร์กับหัว DC ส่วน Pano 60c จะเป็นอะแดปเตอร์ที่เอามาเสียบกับช่อง PD 65W


เดี๋ยวผมจะพูดถึงความพิเศษอีกอย่างนึงนะครับ ที่ตัว PANO ออกแบบมา คือในเรื่องของ มีขั้วคอนแทคท์ที่ Ace E-Lock ด้วยนะครับ เพราะว่าในอนาคตไตรมาศที่ 3 ของปีนี้ amaran จะออกตัว Power Bank ที่เป็นด้ามจับมาด้วย เค้าเรียกว่า amaran Peak นะครับ คุณจะสามารถใช้ amaran Pano ในการถือ Portable เพราะในตัวเค้าไม่ได้มีแบตเตอรี่ ซึ่ง amaran Peak ก็จะมาในควอเตอร์ 3 อย่างแน่นอน

เดี๋ยวผมจะลองใส่ Softbox ให้ดูนะครับ ว่าใส่ยากมั้ย ต้องบอกว่าใส่ง่ายมากๆ เริ่มต้นจะเห็นว่าซอฟท์บ็อคได้พับแบนๆ แบบนี้

ให้เราจับขอบซอฟท์บ็อคทั้ง 2 ข้างแล้วดึงออก ซอฟท์บ็อคจะกางออกอย่างง่ายดาย

ให้เราวาง Pano กดทับไว้บนซอฟท์บ็อค แล้วใช้ตีนตุ๊กแกดึงและแปะตรงอีกด้านนึงของซอฟท์บ็อคซ์ เพื่อให้ไฟแผง Pano กับ ซอฟท์บ็อคเกาะติดกันอย่างแน่นหนา

แปะให้ครบทุกด้าน เพื่อความแน่นหนา เป็นอันเสร็จ

และก็มาถึงตัว 120c การติดตั้งก็เหมือนกันกับ 120c

Pano 60c กับ 120c มีข้อแตกต่างเล็กน้อยที่เห็นได้ชัดในการติดตั้ง คือ 120c มีเส้นเซฟตี้รองรับน้ำหนักในการวางไฟแผง Pano 120c

วางไฟพาแนลแนบติดกับ Softbox และดึงสายรัด รัดตัว Softbox ให้ติดกับไฟพาแนล Pano 120c และแปะตีนตุ๊กแกให้ติดกัน และความพิเศษที่แตกต่างกันระหว่าง 60c กับ 120c นั่นคือ 120c จะมีสายรัด 4 เส้น เพื่อความแน่นหนามากขึ้น

เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว จะเป็นแบบในรูปครับ
