แสงคือหัวใจของการถ่ายภาพเพราะแสงคือปัจจัยในการก่อกำเนิดภาพ การใช้แสงที่เหมาะสมสามารถเปลี่ยนซีนที่ธรรมดาให้ดูน่าสนใจและทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมได้อีกด้วย
ในอุตสาหกรรมถ่ายภาพยุค Modern Camera ไฟสตูดิโอ LED (LED Studio) ได้กลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมที่ช่างภาพนึกถึงเป็นอันดับต้นๆด้วยความสามารถในการควบคุมและปรับแต่งแสงได้อย่างแม่นยำ
บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจหลากหลายแง่มุมของแสงสี และฮาร์ดแวร์ รวมถึงรูปทรงของไฟ LED Studio เพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจเลือกไฟสตูดิโอ ที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพของคุณได้
1. แสงสี: ปัจจัยสำคัญที่กำหนดอารมณ์และความรู้สึกของภาพ
1.1 กำลังไฟ (Wattage): กำลังไฟเป็นตัวกำหนดความสว่างของแสง การเลือกกำลังไฟที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขนาดของพื้นที่และวัตถุที่คุณต้องการถ่ายภาพ ระยะห่างระหว่างไฟกับวัตถุ สไตล์การถ่ายภาพ หากคุณต้องถ่ายสินค้าขนาดเล็กในสตูดิโอขนาดเล็กไฟขนาด 60-150W ก็อาจเพียงพอ
ขณะเดียวกันหากคุณต้องถ่ายวัตถุขนาดใหญ่ในพื้นที่กว้าง หรือต้องการสร้างเอฟเฟกต์แสงที่สว่างจ้า คุณอาจต้องใช้ไฟกำลังสูงตั้งแต่ 300W ขึ้นไปเพื่อความสว่างที่เพียงพอต่อบริบทนั้นๆ
ปัจจัยของบรรยากาศแสงโดยรอบ
หากคุณต้องถ่ายภาพกลางแจ้งช่วงระหว่างวันที่มีแดดแรงคุณควรคำนึงถึงกำลังไฟที่มากพอที่จะสู้กับแสงจ้าของพระอาทิตย์ได้ ซึ่งอาจจะเป็นไฟที่มีกำลังตั้งแต่ 300W ขึ้นไป
การใช้ Soft Box
อีกปัจจัยหนึ่งในการกำหนดกำลังไฟเนื่องด้วย SoftBox แต่ละรูปทรงแต่ละขนาดทำหน้าที่ในการกระจายแสงที่ต่างกัน ยิ่งตัวใหญ่ยิ่งกระจายแสงได้ดีเราควรเลือก SoftBox ให้สัมพันธ์กับกำลังไฟ เช่น
เมื่อเราใช้ SoftBox ขนาด 60 cm. กับไฟ 60W ผลลัพธ์คือ “กระจายแสงได้กว้างแสงที่ออกมาอ่อนลง”
หากเราใช้ SoftBox ขนาด 45 cm. กับไฟ 60W ผลลัพธ์คือ “กระจายแสงแคบลง แสงที่ออกมาแรงขึ้น”
**การใช้ SoftBox ที่ใหญ่เกินกำลังไฟแล้วยังส่งผลต่อการรับน้ำหนักที่มากไปของไฟส่งผลเสียคือความไม่มั่นคงในการใช้งานและการสึกหรอต่ออุปกรณ์ในระยะยาว**
1.2 อุณหภูมิสี (Color Temperature):
อุณหภูมิสีวัดเป็นเคลวิน (K) และเป็นตัวกำหนดว่าแสงจะมีโทนสีอบอุ่น (สีส้ม/เหลือง) หรือโทนสีเย็น (สีฟ้า)
(2000 – 3200K) อิงจากแสงจากดวงอาทิตย์ในตอนเช้าหรือตอนเย็นจะมีอุณหภูมิสีต่ำโทนสีอบอุ่น
(4000 – 5000K) อิงจากแสงดวงอาทิตย์ในตอนกลางวันจะมีอุณหภูมิสีสูงและมีโทนสีเย็น
ไฟ LED Studio ที่ปรับอุณหภูมิสีได้ทั้งโทนอุ่นและโทนเย็นจัดอยู่ในไฟตระกลู Bi-Color (Day Light & Warm White) และยังมีไฟตระกลู (Day Light) ซึ่งอุณหภูมิสีคงตัวที่ 5600K ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน
ฉะนั้นแล้วการเลือกใช้อุณหภูมิสีที่เหมาะสมจะช่วยสร้างบรรยากาศ ประสบการณ์ และอารมณ์ร่วมกับผู้ชมได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ
1.3 ความแม่นยำสี (Color Accuracy):
เชื่อว่าช่างภาพทุกท่านต้องการให้สีสันของผลงานที่ดูธรรมชาติใกล้เคียงกับสิ่งที่เราเห็นที่สุดไม่ว่าจะหน้ากล้องหรือหลังกล้อง
การเลือกไฟที่มีความแม่นยำสีสูงช่วยลดกระบวนการ Post-Production ได้อย่างไม่ต้องสงสัยและจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ที่จริงจังด้านสี เช่น ผู้ที่ต้องการโทนสีแบบ cinematic, การถ่ายสินค้า หรือเสื้อผ้าที่มีเฉดสีที่หลากหลายต้องการสีที่แม่นยำที่สุดจากหน้ากล้อง
ดัชนีชี้วัดหลายตัวที่เราเห็นกันจนชินตาในท้องตลาดคือ (CRI , TLCI หรือ TM 30 ) ยิ่งค่าเหล่านี้สูงเท่าไหร่ ไฟ LED ก็จะยิ่งสร้างสีได้แม่นยำมากขึ้น
แต่เดี๋ยวก่อนครับ…คืออยากบอกว่าตอนนี้ถ้าจะซื้อไฟสตูดิโอ LED ไว้ใช้งานควรเลิกดูค่าต่างๆก่อนหน้านี้ได้แล้วเพราะมันเป็นดัชนีชี้วัดตัวเก่า ค่าเดียวที่เราต้องดูเลยคือ SSI (Spectral Similarity Index) ค่าเดียวเท่านี้เลยจริงๆครับ เพราะอะไร ?
- CRI วัดผลที่ 8 สี
- TLCI วัดผลที่ 24 สี
- TM-30 วัดผลที่ 99 สี
- SSI วัดผลแบบ Full Spectrum
เอาแบบสั้นๆเลยคือ CRI, TLCI หรือ TM 30 เป็นดัชนีชี้วัดตัวเก่าที่มีการวัดผลของสีในจำนวนน้อย ซึ่งดูไม่เหมาะสมกับเทคโนโลยีของเซนเซอร์ของกล้อง (Modern Camera) ในปัจจุบันเท่าไหร่นัก
แล้วทำไมต้อง SSI เท่านั้น ?
SSI (Spectral Similarity Index) ถูกพัฒนาขึ้นโดย The Academy of Motion Picture Arts and Sciences หรือที่เค้ามอบรางวัล Oscar นั้นแหละครับโดย SSI ไม่ได้ใช้การเทียบเคียงหรือวัดแม่สี หากใช้การเทียบเคียงกับ Color Spectrum ที่ครอบคลุมทุกสีทุกเฉด เรียกว่าแม่นจัดๆ และถูกพัฒนามาเพื่อไฟ LED สตูดิโอในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และการมองเห็นสีของกล้องดิจิตัลโดยเฉพาะครับ
อ้างอิง : oscars.org/science-technology
amaran ได้พัฒนาความแม่นยำสี SSI (Spectral Similarity Index) อย่างจริงจังและถือเป็นจุดเด่นของแบรนด์ ที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่เลือกซื้อไฟสตูดิโอเลยทีเดียว
คลิกเพื่อชมรายละเอียดสินค้า amaran COB light
2. ฮาร์ดแวร์: เลือกให้ตอบโจทย์การใช้งาน
2.1 COB LED (Chip on Board LED):
COB LED ถือเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่รวมหลายชิป LED ไว้บนแผงเดียวกัน ทำให้ได้แสงที่สว่าง สม่ำเสมอ และมีประสิทธิภาพสูง COB LED เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการแสงที่นุ่มนวลและเป็นธรรมชาติ
2.2 Bowen Mount:
มาตรฐานของอุปกรณ์เสริมในไฟสตูดิโอ LED การเลือกใช้ Bowen Mount ช่วยให้การทำงานร่วมกับอุปกรณ์เสริม เช่น Softbox หรือ Modifier ได้หลากหลายขึ้นเพื่อปรับแต่งแสงและสร้างรูปแบบของแสงที่หลากหลายยิ่งขึ้น
2.3 เสียงพัดลม และ ระบบระบายความร้อน:
หากคุณต้องบันทึกวิดีโอนี่คือหัวข้อที่ต้องให้ความสำคัญ การใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดเสียงจากพัดลมระบายความร้อนการเลือกไฟที่มีระบบระบายความร้อนที่เสถียร หรือ มีระบายความร้อนมีโหมดเงียบช่วยให้การทำงานไหล่ลื่นยิ่งขึ้น
3. ซอฟต์แวร์: ควบคุมทุกอย่างได้ดั่งใจ
เชื่อไหมครับว่าการใช้แอปคุมไฟที่ดีเหมือนได้ผู้ช่วยเพิ่มอีก 2 คน ดูเหมือนจะเป็นท่าบังคับสำหรับไฟ LED สตูดิโอในยุคนี้ไปแล้วกับการควบคุมไฟด้วยแอปผ่าน Bluetooth ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมการทำงานของไฟได้สะดวกและแม่นยำโดยไม่ต้องเดินไปที่ไฟทุกครั้ง
นอกจากการปรับแต่งค่าพื้นฐาน เช่น ความสว่าง, อุณหภูมิสี, เอฟเฟกต์แสง, และโหมดต่างๆได้แล้ว แอปคุมไฟที่ดีสามารถสร้างระบบเชื่อมโยงและทำงานรวมกับไฟได้เป็นร้อยตัว สิ่งเหล่านี้ทำให้คุณสามารถสร้างเอฟเฟกต์หรือบรรยากาศองค์รวมขนาดใหญ่ได้ เช่น การเล่น FX ของไลฟ์โชว์หรือ MV ที่มีการใช้ไฟที่ซับซ้อนในหลายหมวดหมู่ Preset ที่ดีสามารถบันทึกการตั้งค่าแสงที่คุณชื่นชอบและเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็วในภายหลัง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำงานที่ต้องเปลี่ยนการตั้งค่าแสงบ่อยๆไม่ว่าจะเป็นรายตัวหรือทั้งซีน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ Work Flow และลดการทำงานของคนในทีมไปได้มากทีเดียว
#ไฟสตูดิโอ #ไฟสตูดิโอLED #ไฟสตู #ไฟต่อเนื่อง #ไฟamaran #ไฟถ่ายหนัง #ไฟแอลอีดี #ไฟถ่ายแบบ #amaran #COB